Red Bobblehead Bunny

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

15/09/59
ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ก่อนจะเข้าเนื้อหาเรามาลองเป็นครูและนักเรียน นำเสนอคำคล้องจองจากอาทิตย์ที่แล้ว กว่าจะผ่านกันไปได้ต้องอาศัยเพื่อนๆให้ความร่วมมือ คุณครูค่อยชี้แจ้ง 


     และได้เข้าเนื้อหาวันนี้เรียนกันเรื่องอะไรไม่รู้ที่รู้ๆมีเกมส์ให้เล่นตลอดดดดด  เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้เราเรียนเรื่องการสอนภาษาแบบต่างๆ เช่น แบบแจกลูกเป็นการผมสคำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ด้วยกันอาทิ คำว่าหู >>> หอ - อู - หู <<< แต่ไม่สอดคล้องต่อธรรมชาติของเด็ก เพราะเด็กมีนิสัยอยากรู้อยากเห็นอยากลอง ไม่ใช่ช่วงวัยที่ต้องมาน้องท่องจำ แต่ครวให้เรียนรู้จากสิ่งรอยตัวหรือที่เรียกว่าเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ  แล้วภาษาธรรมชาติคืออะไร? ภาษาธรรมชาติคือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก เช่นเราเรียนจานว่าจานเด็กก็จะเข้าใจว่านี้คือจาน เมื่อคิดถึงจานก็จะคิดภาพตาม เช่นเดียวกับโต๊ะเก้าอี่สิ่งของรอบๆตัว 
















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    ใช้สอนเด็กแทนที่จะให้เขาท่องจำควารให้เขาเห็นด้วยตัวของเขาเองแล้วเขาจะจำได้เอง  อย่าคาดหวังว่าเขาจะทำได้ในครั้งแรก
ประเมิลผลการเรียน
ครูผู้สอน
    ให้ความรู้และข้อแนะนำเสมอพร้อมทั้งชี้แจ้งการเรียนในอาทิตย์ต่อไป
ผู้ร่วมเรียน
    ให้ความสำคัญกับการเรียนค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพราะอากาศเย็นทำให้ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย และคุยกันมาก



เคลื่อน

ตัวผู้เรียน
    มีลุกไปเข้าห้องน้ำกลับมาเรียนเกิบไม่ทัน เรียนกันไวมาก คุยกับเพื่อนบ่อยครั้ง 


วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4








01/09/59
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้เนื้อเพลงมาใหม่  อยากจะบอกครูมาเลยค่ะ อันเก่าหนูยังเอาตัวไม่รอดเลย 
แต่รอบนี้ร้องง่ายกว่าอันก่อน แต่ ก็ใช่ว่าจะไม่ยาก
   

และเริ่มเรียนอย่างจริงจังคือ เรียนคำคล้องจอง ให้ช่วยกันคิดในหัวข้อที่กำหนด โดยหลักการมีอยู่ว่า
       - ต้องคล้องจองแน่นอน
       - อ่านง่าย เช่นคำง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 
       - มีการวางรูปแบบในน่าดึงดูดความของสนใจเด็ก เช่นใช้รูปแทนคำ
       - มีการจัดวางรูปคำให้เหมาะสมกับกระดาษ คือไม่กองอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
และผลงานที่ใช้เวลาทำอย่างมหาศาลลลลลลล


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   แน่นอนค่ะว่าในอนาคตสิ่งที่เรียนไปต้องได้ใช้ในสักวัน  ความรู้วันนี้เช่นกัน ใช้ได้กับทุกเรื่องที่จะสอนเด็กไม่จำเป็นว่าเป็นเรื่องคำคล้องจอง เราต้องเขียนข้อความให้เด็กดูอยู่ตลอดอยู่แล้ว  หลักการพวกนี้ใช้ได้เสมอถ้าเราต้องเขียนข้อความให้เด็กอ่าน  เน้นตัวใหญ่ อ่านง่าย มีสองสีเพื่อดึงดูดความสนใจ




ประเมิลผลการเรียน

ตัวผู้เรียน
    พูดเยอะไปค่ะคาบนี้งานการนี้เป็นงานรองเลยที่เดียว คุยเป็นงานหลัก  แกล้งคนอื่นไปทั่วด้วย 
ผู้ร่วมเรียน
    เหมือนกันค่ะ คุยเก่งพอๆกันคงไม่มีใครคุยคนเดียว มือจะทำงานก็จริงแต่ปากไม่มีหยุดเลยยย
ครูผู้สอน
     เหนื่อยหน่อยค่ะเดินทั้งคาบดูกลุ่มนี้ทีกลุ่มนั้นที ไม่มีทีท่าจะเสร็จสักกลุ่ม ทุกกลุ่มคุยกันหมด 

      

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

01/09/59
ความรู้ที่ได้รับ 






     วันนี้เรียนกันเรื่อง แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย 
แนวคิดแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
 1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
 2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
 3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
 4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเหล่านี้ดีกว่าว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง เริ่มจากแนวคิดแรกมีผู้ให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้ถึง 2 คน คือ สกินเนอร์และวัตสัน เรามาดูของคนแรกก่อนเลย

                               
                                    ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
สกินเนอร์ได้กล่าวไว้ว่า "สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการทางภาษา โดยให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง"
                            ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson

ทฤษฎีของวัตสันคือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก 
โดยวัตสันเชื่อว่า "การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม"

ก็จบไปแล้วกับแนวคิดกลุ่มีที่หนึ่ง มาต่อกับแนวคิดต่อไปเลย
     แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
 - Vygotsky  เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมสังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
 Piaget เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา


แล้วก็จบกับอีกแนวคิดเพื่อไม่ให้เสียเวลาไปต่อกันเลยยยย
       แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
 - Arnold Gesell เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน


มาต่อกันอีกนิดให้จบก่อนนนน
      แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
 - Noam Chomsky ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์ การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
 O. Hobart Mowrer คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แล้วนำองค์ความรู้เหล่านี้มาอ้างอิงเพื่อคความน่าเชื่อถือ และยังสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมตามวุฒิภาวะของเด็กให้เหมาะสมตามความสนใจในช่วงวัยต่างๆ
ประเมิลผล
ตัวผู้เรียน  มีไม่ฟังครูบ้างเพราะคุยกับเพื่อน  ชอบกิจกรรมที่ทำในห้องเรียนมาก เหมือนตัวเองได้เป็นครูแล้วจริงๆ
ผลงานของฉัน ไอจิ เส้นใหญ่
ผู้ร่วมเรียน มีความสนใจดีโดยเฉพาะเมื่อมีกิจกรรม เข้ามาครูอนุบาลก็เหมือนเด็กอนุบาล มีเนื้อหาไม่เอา มีกิจกรรมทำไม่ยั้ง
ครูผู้สอน  เหนื่อยหน่อยเพราะเด็กห้องนี้พกพาความฮามาเต็มกระเป๋า ตั้งใจเรียนคะนะช่วงหลักการห้องเงียบจนได้ยินเสียงแอร์

ตั้งใจเรียนจะตาย
เจอคนตั้งใจกว่า
ยังต้องฝึกอีกเยอะ