Red Bobblehead Bunny

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

24/11/59

ความรู้ที่ได้รับ :  คาบนี้เราเรียนการเขียนแผน วิธีการเขียนแผนแต่ละที่ต่างกันออกไปแต่ครูบอกว่าวิธีนี้ง่ายสุด ครูให้เขียนแผนโดยอิงจากหลักสูตร พ.2546 เพราะในเล่มหลักสูตรได้บอกถึง ประสบการณ์ จุดมุ่งหมาย ของแต่ละด้าน ไว้หมดแล้ว ก็เหลือเพียงเราหยิบขึ้นมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับแผนของเรา ส่วนวิธีการประเมินนั้นเราตั้งจุดประสงค์ไว้อย่างไรก็ประเมินไปตามนั้น เช่น ตั้งจุดประสงค์ว่า ฝึกทักษะในการฟังและพูด การประเมินเพียงเพิ่มคำว่า สังเกตการณ์ฟังและพูด และนอกจากเรียนเขียนแผนแล้วเรายังนำเสนอนิทานจากอาทิตย์ที่แล้วอีกด้วย













การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ : แน่นอนว่าการเขียนแผนเป็นอีกสิ่งที่ต้องเจอในอนาคต แสดงว่าเราเรียนเพื่ออนาคต 5555 การเขียนแผนเป็นตัวบ่งบอกว่าแต่ละวันเราจะสอนเด็กอย่างไร สอนอะไร เด็กได้อะไร หากเรียนเขียนผิด บอกจุดประสงค์ผิดได้ ไม่เกิดผลเสียกับเด็กหรอกเพราะเด็กยังคงได้ทำกิจกรรมที่เราจัดเช่นเดิม เพียงแต่เกิดผลเสียกับตัวเรา ดังนั้นการเขียนแผนเป็นเรื่องจำเป็น ที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อประโยชน์ของเราในอนาคต
การประเมิน
ครูผู้สอน คาบสุดท้ายของการเรียนวิชานี้ เพื่อนทุกคนยังคงเหมือนเดิม ดื้อในบางเวลา ชอบคุย แกล้งกันในห้อง จนบ่อยครั้งที่ครูต้องห้ามศึกเล็กๆ
ผู้ร่วมเรียน : คาบสุดท้ายของการเรียนวิชานี้ เพื่อนทุกคนยังคงเหมือนเดิม ดื้อในบางเวลา ชอบคุย แกล้งกันในห้อง จนบ่อยครั้งที่ครูต้องห้ามศึกเล็กๆ
ตัวผู้เรียน : การเรียววิชานี้เป็นวิชาที่ผ่อนคลายที่สุดในอาทิตย์ เวลาเรียนมีความสุขมาก แต่เป็นคนสมาธิหลุดง่ายๆเหมือนกัน ชอบที่ครูให้เรียนแบบปฏิบัติมากว่าทฤษฎี เพราะจะทำให้จำได้ง่ายกว่า บ่อยครั้งที่ตัวหนูพูดเสียงแข็งและขาดหางเสียง หนูเคารพครูเสมอนะคะแต่ด้วยเนื้อเสียงหนูเป็นแบบนี้ จึงทำให้ดูเหมือนคนพูดไม่สุภาพ   




วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

17/11/59
ความรู้ที่ได้รับ คาบนี้เราเรียนเรื่องการเขียนคำปริศนาคำทาย ความรู้ที่ได้คือ การที่จะคิดคำปริศนาต้องตรงกับคำตอบ ต้องการเน้นคำปริศนาไดให้เน้นคำนั้นหรือมีปริศนาใหม่ให้ใช่สีใหม่ ตัวหนังสือต้องไม่เล็กและใหญ่ไป  รูปที่วาดถึงปริศนาไม่จำเป็นต้องตรงกับความจริงเพื่อเพิ่มจิตนาการของเด็ก แต่รูปสุกท้ายที่จะเฉลยต้องเป็นรูปที่ดูเหมือนจริง












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การเขียนคำปริศนาในคราวหน้าต้องเขียนเว้นช่องไฟให้ดี ไม่ติดข้างหน้าเกินไป  การคิดคำควรเป็นคำที่สั่นแต่ครอบคลุมกับเฉลย สีที่เน้นคำไม่ควรมากจนเกินไป
ประเมิน
ครูผู้สอน : มีการสังเกตนักศึกษาทุกกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำ
ผู้รวมเรียน : สนุกกับการคิดคำปริศนาและตั้งชื่อตัวปริศนา วาดรูปให้แปลกที่สุดอย่าให้ใครทายได้
ตัวผู้เรียน : สนุกกับการคิดคำปริศนา และรูปที่จะใช้ทายปริศนา


วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

10/11/59
ความรู้ที่ได้รับ : ในคาบนี้เราเรียนต่อจากการเรียนแบบโครงการ  เรามาถึงขั้นตอนที่ให้เด็กๆแต่งนิทานจากเรื่องที่เรียนกันไปแล้ว โดยให้เด็กๆช่วยกันแต่ง และวาดรูปประกอบนิทาน แต่งชื่อเรื่อง เมื่อเด็กๆช่วยกันแต่งและตั้งชื่อนิทานเสร็จกันแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องแบ่งคำพูดจากนิทานของเด็กๆ เป็นหน้าเพื่อวาดรูปประกอบ จากนั้นก็แบ่งเด็กเป็นกลุ่มให้รับผิดชอบร่วมกันเป็นกลุ่ม เมื่อทำหน้าที่ของตนเสร็จครูก็ต้องรวบรวมและทำเป็นรูปเล่มแล้วเล่าให้เด็กๆฟัง


การนำไปประยุกต์ใช้ : จากการเรียนในคาบนี้ทำให้รู้ว่าการแบ่งคำพูดมีผลต่อการวาดภาพหรือกล่าวคือการจะให้คำพูดใดในนิทานควรเป็นคำที่วาดง่ายๆ คำที่ไม่ยาวมาก มีความหมายที่เข้าใจง่าย และแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสมของเด็ก เพื่อจะได้ช่วยเหลือกัน ครูต้องดูเด็กทุกกลุ่มไม่เจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง









ประเมิน
อาจารย์ผู้สอน : ให้ความรู้เข้าใจดีมีตัวอย่างประกอบเสมอ ค่อยสังเกตเด็กๆตลอดการทำกิจกรรม มีกิจกรรมเสริมด้วย ทำให้ห้องดูอบอุ่นมากกว่าเดิมเยอะเลย


ผู้ร่วมเรียน  : สนใจในวิชาเป็นอย่างมากเพราะมีกิจกรรมเรียกความสนใจเป็นอย่างดี
ผู้เรียน  : สนุกดีที่ได้เรียนคาบนี้  เรียนสบายๆ  หน้าสบายแต่ใจคิดถึงกิจกรรมเทอม2 แล้วเศร้าเลย
ผู้เรียน  : สนุกดีที่ได้เรียนคาบนี้  เรียนสบายๆ  หน้าสบายแต่ใจคิดถึงกิจกรรมเทอม2 แล้วเศร้าเลย

 


วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

03/11/59
ความรู้ที่ได้รับ  เราเรียนกันเรื่องการเขียนชาร์ทระหว่างการเรียนแบบโครงการ  หรือเรียกง่ายว่าฝึกเขียนชาร์ทบนกระดานนั้นแหละ ระหว่างการเขียนต้องมีสมาธิสุดๆเพราะต้องฟังสิ่งที่เด็กพูดและก็เขียน พอเขียนก็ต้องพูดกับเด็ก ตาต้องมองเด็กๆด้วย การเขียนบนกระดานครั้งแรกเหรอ……………….......….สั่นอย่างเห็นได้ชัดครูเป็นใบ้เลยค่ะเด็กๆ แล้วก็เรื่องที่ต้องระวังคือ!!! การเน้นคำที่เรียนต้องคนละสี ภาษาเป็นเรื่องสำคัญตรงเขียนให้ถูก


การนำไปประยุกต์ใช้   แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเจอกันในสักวัน ยังไงก็ต้องสอนเด็ก ยังไงก็ต้องเรียนกระดาน สิ่งที่ต้องมีคือสมาธิกับสิ่งที่ทำ แยกประสาทให้ได้ ปากพูด มือเขียน ตามอง สิ่งเหล่านี้จะดีได้ต้องผ่านการฝึกฝน


ประเมิน
คุณครูผู้สอน  ครูค่อยเตือนเสมอๆว่าคุยกับเด็กด้วย มองเด็กสิเด็กวิ่งไปนอกห้องแล้ว คุณครูขอเสียงสองด้วยนะ อย่าสั่น ทุกอย่างที่ครูบอกหนูอยากทำได้ให้หมดเลยค่ะแต่มันเป็นไปไม่ได้  
ผู้ร่วมเรียน ทุกคนตื่นเต้นกันมากที่จะได้แกล้งเพื่อนเป็นเด็ก แต่ก็ช่วยกันดีเขียนคำไหนผิดก็ช่วยแก้ ช่วยตัดกระดาษ ขีดเส้น



ผู้เรียน  พูดตรงๆสั่นค่ะ จนตัวหนังสือเป็นงูเลย ไม่พูดกับเด็กเลยเพราะพอพูดเขียนสิ่งที่พูดลงกระดาษเลย




วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครังที่ 9

27/10/59


ความรู้ที่ได้รับ   อาทิตย์นี้เราเรียนเรื่องการสอนแบบโครงการ  การสอนแบบโครงการคืออะไร?? การสอนแบบโครงการก็คือการสอนเรื่องที่เด็กให้ความสนใจโดยผู้เรียนมีโอกาสสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวข้อที่สนใจด้วยตนเองและร่วมกับเพื่อนๆ การสอนแบบโครงการจะให้อะไรกับเด็ก ลักษณะเด่นของการสอนแบบโครงการคือการค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง คำถามนี้อาจมากจากเด็ก จากครูหรือครูกับเด็กร่วมกัน เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือ




การสอนแบบโครงการมีกระบวนการดังนี้
1. การอภิปรายกลุ่ม
2. การนำเสนอประสบการณ์
3. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม
4. การสืบค้น

5. การจัดแสดง
ระยะของโครงการ
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้และความสนใจเด็ก
ระยะที่ 2 ให้โอกาสเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนกลับ และแลกเปลี่ยนงานโครงการ 



การนำไปประยุกต์ใช้   ใช้ในการสอนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กมีความกล้าแสดงออก  มั่นใจในตัวเอง เห็นถึงความสามารถภายในตัว รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่
ประเมิน
ครูผู้สอน   อาทิตย์นี้ได้นักศึกษาฝึกประสบการณ์มาสอน จากผู้มีประสบการณ์ตรงสอนมีข้อแนะนำมากมายบอกถึงปัญหาที่จะเจอในห้องเรียน วิธีแก้ไขและรับมือ 
ผู้ร่วมเรียน เหมือนเด็กน้อยที่เห็นคนแปลกเข้ามาในห้องตื่นเต้นกันใหญ่ อยู่ไม่นิ่งคุยถึงการเปลี่ยนไปของพี่ๆ
ผู้เรียน สนใจสิ่งที่พี่ๆสอนแต่ก็แอบตลกถ้าตัวเองได้ไปสอนเด็กจะเป็นไง เห็นพี่ๆทำแล้วคิดถึงตัวเองตลอดเวลา งานหินมาก